messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สัย info_outline ข้อมูลการติดต่อ voice_chat วิดีโอกิจกรรม อบต.โพธิ์สัย public ร้องทุกข์/ร้องเรียน dvr facebook image โอเพนแชทไลน์ (Line)

องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สัย
ตำบลโพธิ์สัย
อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
place สถานที่ท่องเที่ยว
การเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยงทางวิทยุกระจายเสียง/วิทยุชุมชนรอปรับปรุง
อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่งรอปรับปรุง
แผ่นพับอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง รอปรับปรุง
แผนที่
อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง ต.โพธิ์สัย อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด รอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยว
การเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยงทางวิทยุกระจายเสียง/วิทยุชุมชน

รอปรับปรุง
อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง

รอปรับปรุง
แผ่นพับอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง

รอปรับปรุง
แผนที่

อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง ต.โพธิ์สัย อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

รอปรับปรุง
info_outline วิสัยทัศน์-พันธกิจ
วิสัยทัศน์/พันธกิจหน่วยงานวิสัยทัศน์ (Vision) " มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมที่ดี การบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นเมืองน่าอยู่ของอำเภอศรีสมเด็จ " พันธกิจ (Mission) พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่ ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
วิสัยทัศน์/พันธกิจหน่วยงาน
 
วิสัยทัศน์ (Vision)
" มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมที่ดี การบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นเมืองน่าอยู่ของอำเภอศรีสมเด็จ "
 
พันธกิจ (Mission)
พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
วิสัยทัศน์/พันธกิจหน่วยงาน

วิสัยทัศน์ (Vision) " มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมที่ดี การบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นเมืองน่าอยู่ของอำเภอศรีสมเด็จ " พันธกิจ (Mission) พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่ ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
วิสัยทัศน์/พันธกิจหน่วยงาน

 
วิสัยทัศน์ (Vision)
" มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมที่ดี การบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นเมืองน่าอยู่ของอำเภอศรีสมเด็จ "
 
พันธกิจ (Mission)
พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
check_circle ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา ตำบลโพธิ์สัย แต่ก่อนนั้นขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลสวนจิก ซึ่งสมัยนั้นมีกำนันปกครองตำบลสวนจิก คือ นายเสร็จ พันธุมี ต่อมาทางราชการได้แบ่งแยกการปกครองออกมาตั้งเป็นตำบลโพธิ์สัย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2532 เพื่อให้เหมาะสมในการปกครองท้องถิ่น จำนวนหมู่บ้านมี 9 หมู่บ้าน และทางอำเภอได้มีคำสั่งให้เลือกตั้งกำนันตำบลโพธิ์สัยขึ้น ในวันที่ 30 กันยายน 2532 ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายเลิศ เพ็งอารีย์ ได้รับเลือกให้เป็นกำนันคนแรกของตำบลโพธิ์สัย ความเป็นมาของชื่อตำบลโพธิ์สัยนั้นแต่เดิมชื่อบ้านหนองแต้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 เกิดไฟไหม้หมู่บ้าน ชาวบ้านได้พากันอพยพไปอาศัยใต้ร่มเงาต้นโพธิ์ใหญ่ในวัดบ้านหนองแต้ ชาวบ้านจึงเห็นความสำคัญของร่มโพธิ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อบ้านจากบ้านหนองแต้ มาเป็นบ้านโพธิ์สัย จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้เริ่มมีการอพยพโดยชาวบ้าน บ้านโพนละออม ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เข้ามาหาที่ทำกินบริเวณ “บ้านโพนทองเก่า” ซึ่งได้ก่อตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ ครั้งแรกประมาณ 10 หลังคาเรือน บริเวณที่ตั้งจะอยู่ริมห้วยแอ่ง ในฤดูฝนจะเกิดน้ำท่วมทุกปี จึงได้พากันอพยพมาจากที่ตั้งเดิมเนื่องจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินสูงกว่าเดิม เป็นโคกป่าแต้ จึงเรียกตัวเองว่า บ้านโพน ต่อมาปี 2525 ทางราชการได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “บ้านโพนทองใหม่” ปัจจุบันบ้านโพนทองเก่ายังคงมีประชากรที่ยังไม่ย้ายมาอยู่ที่บ้านโพนทองใหม่ประมาณ 14 หลังคาเรือนเพราะคิดว่าที่ตั้งเดิมดีอยู่แล้ว ประมาณปี พ.ศ. 2415 – 2420 ได้มีชาวบ้านจำนวน 10 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านโพนละออม ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม และอีกจำนวน 2 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านปอภาร ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานในการทำมาหากิน ได้ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านโคกกลาง” สาเหตุเพราะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นโคกล้อมรอบด้วยป่าและอยู่ห่างไกลจากบ้านอื่น ปี พ.ศ. 2435 นายสุโพธิ์ ได้มาพร้อมกับครอบครัวและญาติ ๆ จำนวน 3 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านโพนละออม ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม สาเหตุที่ย้ายมาเพราะมีอีแร้งมาลงกลางบ้านโพนละออม ทำให้บ้านเดือด มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ชาวบ้านจึงแยกกันไปอยู่ตามบ้านต่าง ๆ เช่น บ้านโคกสาย บ้านโคกกลาง บ้านโพนทอง และบ้านหัวหนอง ตามหัวไร่ปลายนาของตนเอง ได้ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านโนนโพธิ์” เหตุที่ตั้งชื่อบ้านโนนโพธิ์ เพราะผู้ที่มาก่อตั้งหมู่บ้านคนแรกชื่อ โพธิ์ พร้อมทั้งลักษณะทางกายภาพของบริเวณที่ตั้งเป็นโนนประมาณปี พ.ศ. 2440 – 2445 ได้มีชาวบ้านจากบ้านโคกก่อง หรือบ้านหนองเม็ก ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบริเวณ “บ้านโพธิ์สัย” ตำบลโพธิ์สัย ในตอนแรกเรียกบ้านหนองแต้ซึ่งเอาชื่อมาจากหนองน้ำเล็ก ๆ แห่งหนึ่งมีต้นแต้เกิดอยู่กลางน้ำ (จากการสัมภาษณ์ นายสอน เศรษนุศาสตร์ อายุ 86 ชาวบ้านบ้านโพธิ์สัย) เล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 2445 ในช่วงกลางวันได้มีสัตว์ตัวหนึ่งวิ่งเข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านได้แห่กันไปดูสัตว์ตัวนั้นคือ “ลิ่น ”ชาวบ้านจึงได้พากันไปเสี่ยงทายหมอดูบอกว่าถ้าหากชาวบ้านบวงสรวงไม่ถูกวิธีจะเกิดภัยพิบัติ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อชาวบ้านแน่นอน อยู่มาประมาณเดือนเศษกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2445 ได้เกิดไฟลุกลามเข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านช่วยกันดับไฟแต่ดับไม่ไหว ไฟจึงไหม้บ้านหนองแต้วอดไปถึง 18 หลังคาเรือน ไร้ที่อยู่อาศัย จึงพากันอพยพไปอยู่ที่วัดซึ่งมีต้นโพธิ์ 2 ต้น ให้ผู้คนได้อยู่อาศัยร่มเงาประมาณ 2 เดือนเศษ พอสร้างที่อยู่อาศัยเสร็จจึงอพยพจากวัดเข้ามาอยู่ในบ้าน ชาวบ้านจึงเห็นความสำคัญของร่มโพธิ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อบ้านจากบ้านหนองแต้ มาเป็น “บ้านโพธิ์สัย” ปี พ.ศ. 2491 นายจวน ยอยโพธิ์สัย ได้อพยพครอบครัวและญาติพี่น้องมาจากบ้านนาแพง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สาเหตุเพราะหมู่บ้านเดิมเกิดโรคระบาด ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านใหม่เรียกว่า “บ้านห้วยทราย” เพราะตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยทราย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบ้านเป็น “บ้านโสกเชือก” (จากการสัมภาษณ์นายนวน จันทะโสก อายุ 58 ปี ผู้ใหญ่บ้านบ้านโสกเชือก) เล่าว่า คำว่าโสกเชือกได้มาจากลำห้วยทราย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีโสกใหญ่แห่งหนึ่งมีน้ำขังตลอดปี และบริเวณโสกนี้มีต้นเชือกใหญ่น้อยจำนวนมากขึ้นอยู่โดยรอบ เป็นที่สำหรับประชาชนในหมู่บ้านใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค และในการเลี้ยงสัตว์ตลอดปี (ปัจจุบันได้มีการปรับพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเป็นที่ทำกินไปจนหมดแล้ว) ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 ทางราชการได้ประกาศแยกบ้านโสกเชือกออกเป็นสองหมู่คือ หมู่ 7 และหมู่ 10 เนื่องจากประชากรมีจำนวนมาก และเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ โดยมีนายประดิษฐ์ สันคะนุช เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ที่ 10 ปี พ.ศ. 2460 ได้มีชาวบ้านจำนวน 3 หลังคาเรือน อพยพมาจากบ้านสวนจิก ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบริเวณ “บ้านหญ้าคา” เดิมชื่อ“บ้านหนองหญ้าคา” เพราะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเต็มไปด้วยทุ่งหญ้าคา เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านหญ้าคา เนื่องจากชาวบ้านคิดว่า หญ้าคาคงไม่สามารถเกิดในหนองน้ำได้ ปี พ.ศ. 2473 ได้มีชาวบ้านจากบ้านหนองบัวดงลิง ตำบลหนองบัวดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกที่อพยพมานั้นยังไม่มีหลายครัวเรือน มาตั้งถิ่นฐานในการทำมาหากิน ที่บริเวณ “บ้านหนองแสง” สาเหตุที่ใช้ชื่อบ้านหนองแสง เพราะมีหนองอยู่ท้ายบ้านทางทิศเหนือ และมีต้นแสงใหญ่อยู่ริมหนองจึงตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านหนองแสง” โดยมีนายสุโพธิ์ รัตนศรี เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกปี พ.ศ. 2484 ได้มีชาวบ้านจำนวน 3 ครอบครัว คือครอบครัวนายอินทมาตย์ นายสอน และนางพุฒิ เป็นกลุ่มแรกที่ก่อตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ (จากการสัมภาษณ์ นายทองมี ศรีอรัญ อายุ 76 ปี ชาวบ้านบ้านโพธิ์สัยน้อย) เล่าว่าในอดีตนั้นที่บริเวณนี้มีสภาพเป็นป่าโคกสูง ได้มีหญิงบ้าคนหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า “อีหนึก” ชอบเดินอยู่บริเวณป่าแห่งนี้ต่อมาได้คลอดลูก แต่ว่าลูกตายจึงเกิดอาการบ้าเลือด ไม่สามารถควบคุมสติของตนเองได้ จึงทำให้เป็นบ้าชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านโคกอีหนึก” ต่อมามีการขยายตัวของคนในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีประชากรจากบ้านโพธิ์สัยหมู่ที่ 4 อพยพมาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำมาหากินตามหัวไร่ปลายนาจึงเรียกชื่อบ้านว่า“บ้านโพธิ์สัยน้อย” ปี พ.ศ. 2508 นายสุทธิราช แพงโพนทอง พร้อมกับชาวบ้านจำนวน 16 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านโพนทอง ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด สาเหตุที่ย้ายมาเนื่องจากในปี พ.ศ. 2507 นั้นที่บ้านโพนทองเกิดน้ำท่วม จึงได้ย้ายมาและตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านโนนสมบูรณ์ สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะมีสามี ภรรยาคู่หนึ่ง สามีชื่อตาบูรณ์ ภรรยาชื่อยายสม ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านนี้ก่อน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อสามี ภรรยา และที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่โนน จึงเรียกว่า “บ้านโนนสมบูรณ์” เพื่อเป็นสิริมงคล และหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของทุกคนภายในหมู่บ้าน (จากการสัมภาษณ์ นายสุทธิราช แพงโพนทอง อายุ 80 ปี ชาวบ้านบ้านโนนสมบูรณ์ ) เล่าว่าบ้านโนนสมบูรณ์เดิมนั้นเคยเป็นหมู่บ้านร้างชื่อว่า “บ้านเลิงมั่ง” สาเหตุที่เป็นบ้านร้างเนื่องจากว่า แต่ก่อนมีคนบ้ามาจากบ้านหนองตื่น ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เคยเรียนคาถาอาคม แต่ไม่สามารถรักษากฎข้อห้ามในการเรียนคาถาอาคมได้ จึงทำให้เป็นบ้า ซึ่งคนบ้าได้ถือดาบเดินมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาถึงห้วยแอ่ง ขณะนั้นมีสามี ภรรยาคู่หนึ่งที่กำลังเก็บกุ้ง เก็บปลาอยู่ริมห้วยแอ่ง สามีกำลังวิดน้ำ และภรรยากำลังก้มเก็บกุ้ง สามีเห็นคนบ้าถือดาบมาจึงวิ่งหนีเข้าหมู่บ้าน แต่ภรรยาไม่ทันเห็นจึงถูกคนบ้าฟันคอขาด เมื่อฆ่าภรรยาแล้วคนบ้าก็ได้วิ่งตามสามี เพื่อที่จะฆ่าสามี ไปเจอคนอยู่กรรม ก็ตัดคออีก ชาวบ้านได้ยินข่าวแตกตื่นไปรวมกันที่บ้านผู้ใหญ่หวอ เพราะเป็นบ้านยกพื้นสูง คนบ้าพยายามปีนขึ้นไปบนบ้าน ชาวบ้านที่อยู่บนบ้านเอาปืนยิงก็ไม่เข้า เอาหอกแทงก็ไม่เข้า เอาเสียมสับก็ไม่เป็นอะไร จึงใช้ผ้าถุงสีขาวของผู้หญิง คลุมศีรษะเพื่อทำให้วิชาเสื่อมแล้วใช้ปืนยิง เมื่อคนบ้าตายก็มีเหตุร้ายตามมา มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ชาวบ้านจึงอพยพหนีหมู่บ้านจึงเป็นบ้านร้าง จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2508 จึงมีชาวบ้านอพยพมาอาศัยและตั้งชื่อว่า “บ้านโนนสมบูรณ์” สิ่งที่ยังคงเหลือคือ ต้นประดู่ในบริเวณวัดเก่าที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก ***************************
ประวัติความเป็นมา.

  

ที่ตั้ง  ตำบลโพธิ์สัย   อำเภอศรีสมเด็จ  จังหวัดร้อยเอ็ด   อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด  ประมาณ  20  กิโลเมตร  ห่างจากตัวอำเภอประมาณ  15  กิโลเมตร
 
อาณาเขต    
    ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  ตำบลสีแก้ว                 อำเภอเมือง         จังหวัดร้อยเอ็ด
    ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ   เทศบาลตำบลปอภาร    อำเภอเมือง         จังหวัดร้อยเอ็ด
    ทิศใต้               ติดต่อกับ   ตำบลสวนจิก               อำเภอศรีสมเด็จ    จังหวัดร้อยเอ็ด
    ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ   ตำบลแกดำ                อำเภอแกดำ         จังหวัดมหาสารคาม
 
เนื้อที่   มีพื้นที่ทั้งหมด  28.10  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  17,562.5  ไร่
 
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลโพธิ์สัย  มีภูมิประเทศลุ่มๆ ดอนๆ  มีหน้าดินลึก  มีการระบายน้ำค่อนข้างดี  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ  5.0-6.0   มีความลาดชัน  0-2 %  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง   160-200  เมตร  เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย  ไม่เหมาะกับการทำการเกษตร
 
จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน 
 จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 10 หมู่บ้าน   ประกอบด้วย
  หมู่ที่  1   บ้านโพธิ์สัยน้อย       หมู่ที่    2   บ้านโนนสมบูรณ์
  หมู่ที่  3   บ้านหนองแสง         หมู่ที่    4   บ้านโพธิ์สัย
  หมู่ที่  5   บ้านหญ้าคา             หมู่ที่   6   บ้านโคกกลาง
  หมู่ที่  7   บ้านโสกเชือก          หมู่ที่    8   บ้านโนนโพธิ์
  หมู่ที่  9   บ้านโพนทอง           หมู่ที่  10   บ้านโสกเชือก
 
ประชากร
ตำบลโพธิ์สัยมีประชากรทั้งสิ้น  7,801 คน  แยกเป็นชาย  4,731 คน  หญิง  3,070 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย 284  คน/ตารางกิโลเมตร  จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  2,590  ครัวเรือน โดยแยกจำนวนประชากร และครัวเรือนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้
 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร (คน)

รวม

จำนวน
ครัวเรือน(หลัง)

ชาย

หญิง

1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.

บ้านโพธิ์สัยน้อย
บ้านโนนสมบรูณ์
บ้านหนองแสง
บ้านโพธิ์สัย
บ้านหญ้าคา
บ้านโคกกลาง
บ้านโสกเชือก
บ้านโนนโพธิ์
บ้านโพนทอง
บ้านโสกเชือก

316
123
309
381
79
188
2,714
178
150
293

333
150
294
411
81
195
946
185
163
312

649
273
603
792
160
383
3,660
363
313
605

185
83
153
212
33
89
1,492
91
80
172

รวมทั้งตำบล

4,731

3,070

7,801

2,590

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

 อาชีพ   ประชากรในตำบลโพธิ์สัย  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและทำไร่ยาสูบ  รองลงมาได้แก่  รับจ้าง
 
สภาพสังคม
    การศึกษา
      - โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์  ร้อยเอ็ด (ม.1 - ม.6)
 
      - โรงเรียนโพธิ์สัยสว่างวิทย์ ตั้งอยู่บ้านโพธิ์สัย หมู่ที่ 4 (ป.1 - ม.3)
 
      - โรงเรียนบ้านโสกเชือก ตั้งอยู่บ้านโสกเชือก หมู่ที่ 7 (ป.1 - ป.6)
 
      - โรงเรียนโพนทอง (สญชัยประชาเวท) ตั้งอยู่บ้านโพนทอง หมู่ที่ 9 (ป.1 - ป.6)
 
      - โรงเรียนหนองแสงโนนสมบูรณ์ ตั้งอยู่บ้านหนองแสง หมู่ที่ 3 (ป.1 - ป.6)
 
      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์สัย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกกลาง  (กรมการพัฒนาชุมชน)  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4, 6
      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโสกเชือก (กรมการศาสนา) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช (อบต.โพธิ์สัย จัดตั้งเอง)
 
      - การศึกษานอกโรงเรียน มีการเปิดศูนย์การศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ หมู่ที่ 7
      - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 10 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 10
 
สถาบันและองค์กรทางศาสนา 
      - วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 11 แห่ง
 
สาธารณสุข
      - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์สัย ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
 
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา

ตำบลโพธิ์สัย แต่ก่อนนั้นขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลสวนจิก ซึ่งสมัยนั้นมีกำนันปกครองตำบลสวนจิก คือ นายเสร็จ พันธุมี ต่อมาทางราชการได้แบ่งแยกการปกครองออกมาตั้งเป็นตำบลโพธิ์สัย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2532 เพื่อให้เหมาะสมในการปกครองท้องถิ่น จำนวนหมู่บ้านมี 9 หมู่บ้าน และทางอำเภอได้มีคำสั่งให้เลือกตั้งกำนันตำบลโพธิ์สัยขึ้น ในวันที่ 30 กันยายน 2532 ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายเลิศ เพ็งอารีย์ ได้รับเลือกให้เป็นกำนันคนแรกของตำบลโพธิ์สัย ความเป็นมาของชื่อตำบลโพธิ์สัยนั้นแต่เดิมชื่อบ้านหนองแต้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 เกิดไฟไหม้หมู่บ้าน ชาวบ้านได้พากันอพยพไปอาศัยใต้ร่มเงาต้นโพธิ์ใหญ่ในวัดบ้านหนองแต้ ชาวบ้านจึงเห็นความสำคัญของร่มโพธิ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อบ้านจากบ้านหนองแต้ มาเป็นบ้านโพธิ์สัย จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้เริ่มมีการอพยพโดยชาวบ้าน บ้านโพนละออม ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เข้ามาหาที่ทำกินบริเวณ “บ้านโพนทองเก่า” ซึ่งได้ก่อตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ ครั้งแรกประมาณ 10 หลังคาเรือน บริเวณที่ตั้งจะอยู่ริมห้วยแอ่ง ในฤดูฝนจะเกิดน้ำท่วมทุกปี จึงได้พากันอพยพมาจากที่ตั้งเดิมเนื่องจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินสูงกว่าเดิม เป็นโคกป่าแต้ จึงเรียกตัวเองว่า บ้านโพน ต่อมาปี 2525 ทางราชการได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “บ้านโพนทองใหม่” ปัจจุบันบ้านโพนทองเก่ายังคงมีประชากรที่ยังไม่ย้ายมาอยู่ที่บ้านโพนทองใหม่ประมาณ 14 หลังคาเรือนเพราะคิดว่าที่ตั้งเดิมดีอยู่แล้ว ประมาณปี พ.ศ. 2415 – 2420 ได้มีชาวบ้านจำนวน 10 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านโพนละออม ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม และอีกจำนวน 2 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านปอภาร ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานในการทำมาหากิน ได้ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านโคกกลาง” สาเหตุเพราะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นโคกล้อมรอบด้วยป่าและอยู่ห่างไกลจากบ้านอื่น ปี พ.ศ. 2435 นายสุโพธิ์ ได้มาพร้อมกับครอบครัวและญาติ ๆ จำนวน 3 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านโพนละออม ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม สาเหตุที่ย้ายมาเพราะมีอีแร้งมาลงกลางบ้านโพนละออม ทำให้บ้านเดือด มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ชาวบ้านจึงแยกกันไปอยู่ตามบ้านต่าง ๆ เช่น บ้านโคกสาย บ้านโคกกลาง บ้านโพนทอง และบ้านหัวหนอง ตามหัวไร่ปลายนาของตนเอง ได้ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านโนนโพธิ์” เหตุที่ตั้งชื่อบ้านโนนโพธิ์ เพราะผู้ที่มาก่อตั้งหมู่บ้านคนแรกชื่อ โพธิ์ พร้อมทั้งลักษณะทางกายภาพของบริเวณที่ตั้งเป็นโนนประมาณปี พ.ศ. 2440 – 2445 ได้มีชาวบ้านจากบ้านโคกก่อง หรือบ้านหนองเม็ก ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบริเวณ “บ้านโพธิ์สัย” ตำบลโพธิ์สัย ในตอนแรกเรียกบ้านหนองแต้ซึ่งเอาชื่อมาจากหนองน้ำเล็ก ๆ แห่งหนึ่งมีต้นแต้เกิดอยู่กลางน้ำ (จากการสัมภาษณ์ นายสอน เศรษนุศาสตร์ อายุ 86 ชาวบ้านบ้านโพธิ์สัย) เล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 2445 ในช่วงกลางวันได้มีสัตว์ตัวหนึ่งวิ่งเข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านได้แห่กันไปดูสัตว์ตัวนั้นคือ “ลิ่น ”ชาวบ้านจึงได้พากันไปเสี่ยงทายหมอดูบอกว่าถ้าหากชาวบ้านบวงสรวงไม่ถูกวิธีจะเกิดภัยพิบัติ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อชาวบ้านแน่นอน อยู่มาประมาณเดือนเศษกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2445 ได้เกิดไฟลุกลามเข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านช่วยกันดับไฟแต่ดับไม่ไหว ไฟจึงไหม้บ้านหนองแต้วอดไปถึง 18 หลังคาเรือน ไร้ที่อยู่อาศัย จึงพากันอพยพไปอยู่ที่วัดซึ่งมีต้นโพธิ์ 2 ต้น ให้ผู้คนได้อยู่อาศัยร่มเงาประมาณ 2 เดือนเศษ พอสร้างที่อยู่อาศัยเสร็จจึงอพยพจากวัดเข้ามาอยู่ในบ้าน ชาวบ้านจึงเห็นความสำคัญของร่มโพธิ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อบ้านจากบ้านหนองแต้ มาเป็น “บ้านโพธิ์สัย” ปี พ.ศ. 2491 นายจวน ยอยโพธิ์สัย ได้อพยพครอบครัวและญาติพี่น้องมาจากบ้านนาแพง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สาเหตุเพราะหมู่บ้านเดิมเกิดโรคระบาด ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านใหม่เรียกว่า “บ้านห้วยทราย” เพราะตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยทราย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบ้านเป็น “บ้านโสกเชือก” (จากการสัมภาษณ์นายนวน จันทะโสก อายุ 58 ปี ผู้ใหญ่บ้านบ้านโสกเชือก) เล่าว่า คำว่าโสกเชือกได้มาจากลำห้วยทราย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีโสกใหญ่แห่งหนึ่งมีน้ำขังตลอดปี และบริเวณโสกนี้มีต้นเชือกใหญ่น้อยจำนวนมากขึ้นอยู่โดยรอบ เป็นที่สำหรับประชาชนในหมู่บ้านใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค และในการเลี้ยงสัตว์ตลอดปี (ปัจจุบันได้มีการปรับพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเป็นที่ทำกินไปจนหมดแล้ว) ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 ทางราชการได้ประกาศแยกบ้านโสกเชือกออกเป็นสองหมู่คือ หมู่ 7 และหมู่ 10 เนื่องจากประชากรมีจำนวนมาก และเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ โดยมีนายประดิษฐ์ สันคะนุช เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ที่ 10 ปี พ.ศ. 2460 ได้มีชาวบ้านจำนวน 3 หลังคาเรือน อพยพมาจากบ้านสวนจิก ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบริเวณ “บ้านหญ้าคา” เดิมชื่อ“บ้านหนองหญ้าคา” เพราะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเต็มไปด้วยทุ่งหญ้าคา เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านหญ้าคา เนื่องจากชาวบ้านคิดว่า หญ้าคาคงไม่สามารถเกิดในหนองน้ำได้ ปี พ.ศ. 2473 ได้มีชาวบ้านจากบ้านหนองบัวดงลิง ตำบลหนองบัวดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกที่อพยพมานั้นยังไม่มีหลายครัวเรือน มาตั้งถิ่นฐานในการทำมาหากิน ที่บริเวณ “บ้านหนองแสง” สาเหตุที่ใช้ชื่อบ้านหนองแสง เพราะมีหนองอยู่ท้ายบ้านทางทิศเหนือ และมีต้นแสงใหญ่อยู่ริมหนองจึงตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านหนองแสง” โดยมีนายสุโพธิ์ รัตนศรี เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกปี พ.ศ. 2484 ได้มีชาวบ้านจำนวน 3 ครอบครัว คือครอบครัวนายอินทมาตย์ นายสอน และนางพุฒิ เป็นกลุ่มแรกที่ก่อตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ (จากการสัมภาษณ์ นายทองมี ศรีอรัญ อายุ 76 ปี ชาวบ้านบ้านโพธิ์สัยน้อย) เล่าว่าในอดีตนั้นที่บริเวณนี้มีสภาพเป็นป่าโคกสูง ได้มีหญิงบ้าคนหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า “อีหนึก” ชอบเดินอยู่บริเวณป่าแห่งนี้ต่อมาได้คลอดลูก แต่ว่าลูกตายจึงเกิดอาการบ้าเลือด ไม่สามารถควบคุมสติของตนเองได้ จึงทำให้เป็นบ้าชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านโคกอีหนึก” ต่อมามีการขยายตัวของคนในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีประชากรจากบ้านโพธิ์สัยหมู่ที่ 4 อพยพมาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำมาหากินตามหัวไร่ปลายนาจึงเรียกชื่อบ้านว่า“บ้านโพธิ์สัยน้อย” ปี พ.ศ. 2508 นายสุทธิราช แพงโพนทอง พร้อมกับชาวบ้านจำนวน 16 ครอบครัว อพยพมาจากบ้านโพนทอง ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด สาเหตุที่ย้ายมาเนื่องจากในปี พ.ศ. 2507 นั้นที่บ้านโพนทองเกิดน้ำท่วม จึงได้ย้ายมาและตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านโนนสมบูรณ์ สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะมีสามี ภรรยาคู่หนึ่ง สามีชื่อตาบูรณ์ ภรรยาชื่อยายสม ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านนี้ก่อน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อสามี ภรรยา และที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่โนน จึงเรียกว่า “บ้านโนนสมบูรณ์” เพื่อเป็นสิริมงคล และหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของทุกคนภายในหมู่บ้าน (จากการสัมภาษณ์ นายสุทธิราช แพงโพนทอง อายุ 80 ปี ชาวบ้านบ้านโนนสมบูรณ์ ) เล่าว่าบ้านโนนสมบูรณ์เดิมนั้นเคยเป็นหมู่บ้านร้างชื่อว่า “บ้านเลิงมั่ง” สาเหตุที่เป็นบ้านร้างเนื่องจากว่า แต่ก่อนมีคนบ้ามาจากบ้านหนองตื่น ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เคยเรียนคาถาอาคม แต่ไม่สามารถรักษากฎข้อห้ามในการเรียนคาถาอาคมได้ จึงทำให้เป็นบ้า ซึ่งคนบ้าได้ถือดาบเดินมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาถึงห้วยแอ่ง ขณะนั้นมีสามี ภรรยาคู่หนึ่งที่กำลังเก็บกุ้ง เก็บปลาอยู่ริมห้วยแอ่ง สามีกำลังวิดน้ำ และภรรยากำลังก้มเก็บกุ้ง สามีเห็นคนบ้าถือดาบมาจึงวิ่งหนีเข้าหมู่บ้าน แต่ภรรยาไม่ทันเห็นจึงถูกคนบ้าฟันคอขาด เมื่อฆ่าภรรยาแล้วคนบ้าก็ได้วิ่งตามสามี เพื่อที่จะฆ่าสามี ไปเจอคนอยู่กรรม ก็ตัดคออีก ชาวบ้านได้ยินข่าวแตกตื่นไปรวมกันที่บ้านผู้ใหญ่หวอ เพราะเป็นบ้านยกพื้นสูง คนบ้าพยายามปีนขึ้นไปบนบ้าน ชาวบ้านที่อยู่บนบ้านเอาปืนยิงก็ไม่เข้า เอาหอกแทงก็ไม่เข้า เอาเสียมสับก็ไม่เป็นอะไร จึงใช้ผ้าถุงสีขาวของผู้หญิง คลุมศีรษะเพื่อทำให้วิชาเสื่อมแล้วใช้ปืนยิง เมื่อคนบ้าตายก็มีเหตุร้ายตามมา มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ชาวบ้านจึงอพยพหนีหมู่บ้านจึงเป็นบ้านร้าง จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2508 จึงมีชาวบ้านอพยพมาอาศัยและตั้งชื่อว่า “บ้านโนนสมบูรณ์” สิ่งที่ยังคงเหลือคือ ต้นประดู่ในบริเวณวัดเก่าที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก ***************************
ประวัติความเป็นมา.

  

ที่ตั้ง  ตำบลโพธิ์สัย   อำเภอศรีสมเด็จ  จังหวัดร้อยเอ็ด   อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด  ประมาณ  20  กิโลเมตร  ห่างจากตัวอำเภอประมาณ  15  กิโลเมตร
 
อาณาเขต    
    ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  ตำบลสีแก้ว                 อำเภอเมือง         จังหวัดร้อยเอ็ด
    ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ   เทศบาลตำบลปอภาร    อำเภอเมือง         จังหวัดร้อยเอ็ด
    ทิศใต้               ติดต่อกับ   ตำบลสวนจิก               อำเภอศรีสมเด็จ    จังหวัดร้อยเอ็ด
    ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ   ตำบลแกดำ                อำเภอแกดำ         จังหวัดมหาสารคาม
 
เนื้อที่   มีพื้นที่ทั้งหมด  28.10  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  17,562.5  ไร่
 
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลโพธิ์สัย  มีภูมิประเทศลุ่มๆ ดอนๆ  มีหน้าดินลึก  มีการระบายน้ำค่อนข้างดี  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ  5.0-6.0   มีความลาดชัน  0-2 %  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง   160-200  เมตร  เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย  ไม่เหมาะกับการทำการเกษตร
 
จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน 
 จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 10 หมู่บ้าน   ประกอบด้วย
  หมู่ที่  1   บ้านโพธิ์สัยน้อย       หมู่ที่    2   บ้านโนนสมบูรณ์
  หมู่ที่  3   บ้านหนองแสง         หมู่ที่    4   บ้านโพธิ์สัย
  หมู่ที่  5   บ้านหญ้าคา             หมู่ที่   6   บ้านโคกกลาง
  หมู่ที่  7   บ้านโสกเชือก          หมู่ที่    8   บ้านโนนโพธิ์
  หมู่ที่  9   บ้านโพนทอง           หมู่ที่  10   บ้านโสกเชือก
 
ประชากร
ตำบลโพธิ์สัยมีประชากรทั้งสิ้น  7,801 คน  แยกเป็นชาย  4,731 คน  หญิง  3,070 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย 284  คน/ตารางกิโลเมตร  จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  2,590  ครัวเรือน โดยแยกจำนวนประชากร และครัวเรือนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้
 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร (คน)

รวม

จำนวน
ครัวเรือน(หลัง)

ชาย

หญิง

1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.

บ้านโพธิ์สัยน้อย
บ้านโนนสมบรูณ์
บ้านหนองแสง
บ้านโพธิ์สัย
บ้านหญ้าคา
บ้านโคกกลาง
บ้านโสกเชือก
บ้านโนนโพธิ์
บ้านโพนทอง
บ้านโสกเชือก

316
123
309
381
79
188
2,714
178
150
293

333
150
294
411
81
195
946
185
163
312

649
273
603
792
160
383
3,660
363
313
605

185
83
153
212
33
89
1,492
91
80
172

รวมทั้งตำบล

4,731

3,070

7,801

2,590

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

 อาชีพ   ประชากรในตำบลโพธิ์สัย  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและทำไร่ยาสูบ  รองลงมาได้แก่  รับจ้าง
 
สภาพสังคม
    การศึกษา
      - โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์  ร้อยเอ็ด (ม.1 - ม.6)
 
      - โรงเรียนโพธิ์สัยสว่างวิทย์ ตั้งอยู่บ้านโพธิ์สัย หมู่ที่ 4 (ป.1 - ม.3)
 
      - โรงเรียนบ้านโสกเชือก ตั้งอยู่บ้านโสกเชือก หมู่ที่ 7 (ป.1 - ป.6)
 
      - โรงเรียนโพนทอง (สญชัยประชาเวท) ตั้งอยู่บ้านโพนทอง หมู่ที่ 9 (ป.1 - ป.6)
 
      - โรงเรียนหนองแสงโนนสมบูรณ์ ตั้งอยู่บ้านหนองแสง หมู่ที่ 3 (ป.1 - ป.6)
 
      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์สัย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกกลาง  (กรมการพัฒนาชุมชน)  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4, 6
      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโสกเชือก (กรมการศาสนา) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช (อบต.โพธิ์สัย จัดตั้งเอง)
 
      - การศึกษานอกโรงเรียน มีการเปิดศูนย์การศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ หมู่ที่ 7
      - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 10 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 10
 
สถาบันและองค์กรทางศาสนา 
      - วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 11 แห่ง
 
สาธารณสุข
      - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์สัย ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด